Cute Orange Flying Butterfly

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

5.บทความเทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
          
          เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
          การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง

เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก 

      ถ้าต้องการให้เด็กเป็นผู้ฟัง ครูหรือผู้ปกครองควรฟังเด็กพูด เมื่อเด็กเล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็นจบ ครูควรกล่าวชม เช่น ความคิดของหนูดีมาก แหมเล่าเรื่องได้ดีจริง การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะเสนอความคิดของตนอีกในชั้นเรียนปฐมวัยมีหลายกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้รู้จักฟังเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเล่านิทาน นอกจากนี้ยังเป็นการฟังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็กมีดังนี้
  • โคลงกลอน ร้อยแก้ว
  • เพลง เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงตามสมัยนิยม
  • เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงจากในครัว จากสนามเด็กเล่น นาฬิกา โทรศัพท์และจากยานพาหนะ เป็นต้น
  • เสียงการใช้วัตถุโยนลงพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยนอาจเป็นหมอน บล็อก ก้อนหิน ผ้าพันคอ ตะปู โยนถุงที่บรรจุของ ต่อไปให้เด็กหลับตาทายว่าครูโยนอะไร
  • ฟังจังหวะ เช่น เสียงเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเร็วช้า เสียงการเต้นของหัวใจเพื่อน เสียงนาฬิกา
  • ฟังเสียงจากขวดบรรจุน้ำ
  • ฟังคำสั่ง ถ้าอายุประมาณ 3 ขวบควรเป็นคำสั่งสั้นๆ อายุมากขึ้นควรฝึกฟังเป็นประโยค หรือ ฟังคำสั่งซ้อนกัน2-3คำสั่ง
  • ฟังคำถาม
  • ฟังโดยมีกติกาจากการเล่นเกม
  • ทายเสียงจากการฟังเครื่องบันทึกเสียง
  • ฟังนิทาน เช่นนิทานที่มีคำซ้ำ ฟังจนจบเรื่องแล้วจับใจความ เป็นต้น การอ่านหนังสือหรือนิทานให้เด็กฟัง สามารถใช้เป็นวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ถ้าหนังสือนั้นให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีภาพประกอบที่น่าสนใจจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นได้แต่ครูต้องมั่นใจว่าเด็กเข้าใจคำศัพท์และความหมายในเรื่องนั้นๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น