Cute Orange Flying Butterfly

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

5.บทความเทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
          
          เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
          การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง

เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก 

      ถ้าต้องการให้เด็กเป็นผู้ฟัง ครูหรือผู้ปกครองควรฟังเด็กพูด เมื่อเด็กเล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็นจบ ครูควรกล่าวชม เช่น ความคิดของหนูดีมาก แหมเล่าเรื่องได้ดีจริง การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะเสนอความคิดของตนอีกในชั้นเรียนปฐมวัยมีหลายกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้รู้จักฟังเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเล่านิทาน นอกจากนี้ยังเป็นการฟังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็กมีดังนี้
  • โคลงกลอน ร้อยแก้ว
  • เพลง เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงตามสมัยนิยม
  • เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงจากในครัว จากสนามเด็กเล่น นาฬิกา โทรศัพท์และจากยานพาหนะ เป็นต้น
  • เสียงการใช้วัตถุโยนลงพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยนอาจเป็นหมอน บล็อก ก้อนหิน ผ้าพันคอ ตะปู โยนถุงที่บรรจุของ ต่อไปให้เด็กหลับตาทายว่าครูโยนอะไร
  • ฟังจังหวะ เช่น เสียงเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเร็วช้า เสียงการเต้นของหัวใจเพื่อน เสียงนาฬิกา
  • ฟังเสียงจากขวดบรรจุน้ำ
  • ฟังคำสั่ง ถ้าอายุประมาณ 3 ขวบควรเป็นคำสั่งสั้นๆ อายุมากขึ้นควรฝึกฟังเป็นประโยค หรือ ฟังคำสั่งซ้อนกัน2-3คำสั่ง
  • ฟังคำถาม
  • ฟังโดยมีกติกาจากการเล่นเกม
  • ทายเสียงจากการฟังเครื่องบันทึกเสียง
  • ฟังนิทาน เช่นนิทานที่มีคำซ้ำ ฟังจนจบเรื่องแล้วจับใจความ เป็นต้น การอ่านหนังสือหรือนิทานให้เด็กฟัง สามารถใช้เป็นวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ถ้าหนังสือนั้นให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีภาพประกอบที่น่าสนใจจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นได้แต่ครูต้องมั่นใจว่าเด็กเข้าใจคำศัพท์และความหมายในเรื่องนั้นๆ




4.บทความการจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book) สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book)

สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

       การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่เกิดขึ้นจากแนวคิดการสอนมุ่งประสบการณ์ทางภาษามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาของเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษา เริ่มทำการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาในปีค.ศ.1984 ดร.ริชาร์ด วอล์คเคอร์ เบรนดอน บาร์ทเล็ทและ ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ ได้นำแนวคิดนี้มาเผยแพร่ในประเทศไทยโดยได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า ทำให้เด็กมีความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เด็กสามารถอ่านเรื่องและเข้าใจความหมายของภาษาได้ดี เด็กเรียนภาษาได้เร็วและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษา ปัจจุบันได้มีนักการศึกษานำแนวคิดนี้ไปทำการวิจัยอย่างแพร่หลายเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของเด็กหรือการพัฒนาการใช้ภาษาด้านการ ฟัง พูด อ่านและเขียน ในปี พ.ศ.2542 ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้ไปทดลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเกี่ยวกับการสอนภาษาแบบองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้สร้างหนังสือเล่มใหญ่พบว่า สามารถพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ชมพูนุท ศุภผลศิริได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การทำหนังสือเล่มใหญ่ พบว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางพหุปัญญาสูงขึ้น
      การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ (Big Book) หมายถึงการจัดสภาพการณ์ให้เด็กเรียนรู้การสื่อสารซึ่งกันและกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์และมีความหมายด้วยการสร้างหนังสือเล่มใหญ่ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้การอ่านจากผลงานการเขียน เรียนรู้การเขียนจากการอ่าน เรียนรู้ภาษาจากวรรณกรรมและการเลียนแบบ กระตุ้นให้เด็กแสดงการสื่อสารผ่านกระบวนการคิดตลอดเวลาและใช้ภาษาจากแรงจูงใจภายในไม่ใช่การบังคับ ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 กำหนดเนื้อเรื่องนิทาน ขั้นที่ 2 สำรวจความหมายของคำ ขั้นที่ 3 สร้างหนังสือเล่มใหญ่ ขั้นที่ 4 ใช้หนังสือเป็นแหล่งข้อมูล

    หลักการการจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่



  1. เรียนอ่านและเขียนด้วยกันอย่างมีวัตถุประสงค์ การอ่านและการเขียนควรจะเรียนพร้อมกันเพราะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องซึ่งเด็กจะนำสิ่งที่ได้ในการอ่านมาใช้ในการเขียน
  2. ฟังและทำความเข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดก่อนและจึงมาทำความเข้าใจส่วนย่อยๆเช่น ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์
  3. เลือกเนื้อเรื่องที่เร้าความสนใจของเด็ก หรือให้เด็กสร้างเนื้อเรื่องขึ้นใหม่ตามความสนใจ พยายามให้เด็กเรียนรู้จากแรงจูงใจภายใน(เรียนรู้ด้วยตนเอง)ในห้องเรียนควรมีหนังสือวรรณกรรมเด็กเป็นจำนวนมากเพียงพอ
  4. เด็กได้เรียนรู้ภาษาอย่างอิสระซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วและสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้
  5. เปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษาหลากหลายโดยมีครูควรให้คำแนะนำช่วยเหลือ ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู
  6. ให้เรียนอ่านและเขียนไปพร้อมๆกันจะทำให้เกิดความแม่นยำในเนื้อหา
  7. สร้างบรรยายกาศให้เด็กคุ้นกับหนังสือเพื่อซึมซับเรื่องราวในหนังสือ ให้เด็กพูด อ่านเขียนและวาดภาพ เล่นบทบาทสมมุติ จัดพื้นที่ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมสื่อสารภาษาในลักษณะเป็นองค์รวมโดยใช้การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนร่วมกัน
  8. จัดการเรียนรู้แบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูศึกษาความสนใจความสามารถ และสอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน ครูเตรียมและวางแผนการสร้างหนังสือตามความสนใจของเด็ก เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างมีความสุข
  9. ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าเสี่ยงที่จะพูด เขียน โดยไม่กลัวผิด
  10. ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด ฟัง อ่านและเขียน




ค้นหางานวิจัยและวิทยานิพนธ์

ค้นหาบทความงานวิจัยและวิทยานิพนธ์



  อาจาร์ยได้ให้ค้นหาบทความงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ 5 บทความ


 งานวิจัยที่ 1


วิทยานิพนธ์การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู (A comparison of mathematics readiness of early childhood taught by educational games and songs and teacher’s manual)  

แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002097





งานวิจัยที่ 2


วิทยานิพนธ์การสื่อสารด้วยภาพในเด็กปฐมวัย (Visual communication in early childhood)


แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000006705





งานวิจัยที่ 3


วิทยานิพนธ์การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมของเด็กปฐมวัย (Interactive media design for moral quotient enhancement of early childhood)


แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000001936





งานวิจัยที่ 4


วิทยานิพนธ์การศึกษาผลของการจัดประสบการณ์การเล่านิทานโดยใช้กิจกรรมศิลปะและการเล่านิทานโดยใช้ภาพประกอบที่มีต่อความสร้างสรรค์และความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย (A study of creativity and satisfaction among preschool children experiencing storytelling through art activities versus picture flip)

แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000004298




งานวิจัยที่ 5



วิทยานิพนธ์การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสำหรับครูปฐมวัย (The development of training curriculum on educational game activities for preschool teachers)

แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000000459



บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557



นิทรรศการสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
จัดทำนิทรรศการโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 
คณะศึกษาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 
มหาวิทยาลัยราชฏจันทรเกษม





















 


















วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 25 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 25 พศจิกายน 2557


        วันได้เรียนอาจารย์ได้สอนทำโมบายจากกระดาษสี

1.เลือกกระดาษสีที่เราจะทำ
2.พับให้เป็นสี่เหลี่ยม ตามขนาดที่ต้องการ 6 ใบ
3.พับเป็นสามเหลี่ยมสองทบและตัดตามแนวยาว ทั้ง 6 ใบ
4.คลี่ออกและนำมาติดกัน ทั้ง 6 ใบ
5.ประกอบเข้ากัน
6.ทำที่ห้อยด้านท้ายและที่แขวน
  




ภาพประกอบการเรียน












ผลงานการทำโมบายจากกระดาษ











บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557


     วันนี้ได้เรียนการผลิตสื่อเกมการศึกษาปฐมวัย



รูปภาพประกอบการเรียน
















***อาจาร์ยให้แบ่งกลุ่มกันทำเกมการศึกษาปฐมวัย***


           โดยอาจาร์ยได้ใหเกระดาษร้อบปอนด์ การดาษชานอ้อยและพลาสติกใสเพื่อทำเกมการศึกษาโดยได้ทำเกมจับคู่สัมพันธ์